วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

นักวิจัยชี้ ข่าวบุหรี่ ช่วยโจ๋ลดการสูบ
(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)

วันที่ 21 เมษายน ศ.นพ. ประกิต วาทีสาธกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า รายงานวิจัยจากภาควิชาพฤติกรรม และสังคมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ที่ทำการวิเคราะห์ข่าว บทความที่เกี่ยวกับบุหรี่ 8,390 ชิ้น จากหนังสือพิมพ์ 386 ฉบับ ที่ออกเผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2544 - 2546 เปรียบเทียบกับความคดเห็นขอวัยรุ่นระดับมัธยมต้น ถึงมัธยมปลาย จากท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศที่ข่าวปรากฏ 98,747 คน พบว่าทุก ๆ 10 ข่าวที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ในแต่ละท้องถิ่นจะมีผลต่อการรับรู้ของวัยรุ่น และวัยรุ่นเห็นด้วยถึงอันตรายของการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 โดยพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ใน 30 วันที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 7 มีทัศนคติที่ไม่เห็นด้วยกับการสูบบุหรี่ และประเมินว่าเพื่อน ๆ มีอัตราการสูบบุหรี่ที่ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต


อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์เหล่านี้พบเฉพาะกับจำนวนข่าวที่ปรากฎ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับประเภท และคุณภาพข่าว และไม่ส่งผลต่อการลดจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ในวัยรุ่นที่ติดบุหรี่แล้ว วัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประมาณ 1 ใน 3 และระดับมัธยมปลายครึ่งหนึ่งอ่านหนังสือพมิพ์


ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า คณะผู้วิจัยสรุปว่า จำนวนข่าวที่ลงเกี่ยวกับบุหรี่ในหนังสือพิมพ์ส่งผลต่อการไม่เห็นด้วยกับการสูบบุหรี่ และลดการริเร่มการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น แม้ว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ และข่าวที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ น่าจะส่งผลให้เกิดการพูดถึงประเด็นบุหรี่ และสุขภาพในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และผู้บริหารท้องถิ่น นำไปสู่การกำหนดมาตรการ และนโยบาย ควบคุมการสูบบุหรี่ และส่งผลทางอ้อมต่อทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น คณะผู้วิจัยจะเสนอแนะฝ่ายที่รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ให้เห็นความสำคัญของทำให้ประเด็นบุหรี่ปรากฎเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่ามีผลต่อการลดจำนวนวัยรุ่นที่จะเสพติดบุหรี่

(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)


"จากการเฝ้าติดตามพบว่า ในปี 2548 มีชิ้นข่าวที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย รวม 1,643 ชิ้น เป็นขี่าวจากมูลนิธิฯ 268 ชิ้น กระทรวงสาธารณสุข 210 ชิ้น องค์กรนานาชาติ 209 ชิ้น หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ 143 ชิ้น บริษัทบุหรี่ 87 ชิ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 42 ชิ้น และแหล่งอื่น ๆ อีก 684 ชิ้น" ศ.นพ. ประกิต กล่าว

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552




มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ พบบ่อยในคนสูบบุหรี่


การสูบบุหรี่ พิษภัยของบุหรี่มากน้อยเพียงใด คงเป็นที่รู้กันดี แต่ดูเหมือนคนกลุ่มหนึ่งก็ยังนิยมชมชอบอยู่ ยังสูบกันดูไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลย โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูบ และผู้ใกล้ชิด เหตุผลหนึ่งคงเป็นเพราะยังไม่เคยเห็นความทุกข์ตอนเจ็บป่วยว่าเป็นอย่างไร หากได้เห้นถึงทุกข์ และความไม่สะดวก แล้วอาจทำให้ได้หยุดยั้งลงบ้าง หรือเหลิกไม่สูบไปเลย






จากสถิติของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่พบว่า ปัจจุบันมีหญิงไทยสูบบุหรี่ ประมาณ 5 แสนคน ชายไทยราว 10 ล้านคน อัตราส่วนราว 20 ต่อ 1 ชายเสียชีวิตปีละ 3.54 หมื่นคน หญิง 5,793 คน ดูแล้วชายตายมากกว่าหญิงราวปีละ 3 หมื่นคน ทั่วโลกเสียชีวตปีละ 5 ล้านบาท


ผลกระทบต่อสุขภาพ รุนแรงที่อันตรายต่อชีวิตคือ มะเร็งปอด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ถึงลมโป่งพอง เส้นเลือดในสมองตีบ และแตก ซึ่งได้มีการคุยกันมานานแล้ว แต่มีอีกโรคหนึ่งที่อาจขอเพิ่มเติมเพราะเห็นว่าเป็นทุกข์ทรมานมาก คือ มะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ


กระเพาะปัสสาวะ เป็นถึงสำหรับเก็บปัสสาวะ อยู่ในช่องท้องระดับหัวเหล่า สามารถเก็บน้ำปัสสาวะได้ถึง 500 ซีซี พอไตกลั่นจากเลือดไหลเป็นปัสสาวะลงมาเก็บในกระเพราะปัสสาวะราว 250 ซีซี ก็จะรู้สึกปวด และต้องไปถ่ายออกทางท่อปัสสาวะเป็นเรื่องของร่างกายในภาวะปกติ




มะเร็งกระเพราะปัสสาวะ มักพบในชายอยู่ 50-70 ปี ขึ้นไป พบบ่อยเป็น 1 ใน 10 ของมะเร็งทั่วไป มะเร็งจะเริ่มด้วยเป็นก้อนบริเวณเยื่อบุของกระเพราะปัสสาวะก่อนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะค่อย ๆ ลามไปที่ผนังกระเพราะปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง และสุดท้ายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ และปอด



อาการ ปัสสาวะสีแดงโดยไม่เจ็บปวด อาจเป็นเลือดตอนปัสสาวะสุด ่ถ่ายแสบขัดครั้งคราวเมื่อกระเพราะปัสสาวะอักเสบ เลือดอาจพบออกมาเป็นลิ่มได้


วินิจฉัยโรค อาศัยจากประวัติ ตรวจทวารหนัก ตรวจปัสสาวะดูเลือด อัลตร้าซาวด์ดูกระเพาะปัสสาวะ ส่องกล้องเข้าไไปดูในกระเพราะปัสสาวะหากพบชิ้นเนื้อเล็ก ๆ บนเยื่อบุอาจจี้หรือตัดเอาชิ้นเนื้อออกตรวจทางพยาธิว่าเป็นมะเร็งหรือไม่




การรักษา จากน้อยไปมาก เป็นน้อยใช้ไฟฟ้าจี้ตัดก้อนออกเลย หากลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงคงต้องผ่าตัดใหญ่ ตัดเอากระเพราะปัสสาวะออก เอาลำไส้มาดัดแปลงเป็นกระเพราะปัสสาวะใหม่แทน ปัสสาวะจะต้องออกทางหน้าท้องไม่ออกทางเด็มแล้ว และถ้าเป็นมาก ลุกลามไปมากกว่านั้นคงช่วยได้ทางเคมีบำบัดและรังสีรักษา



มะเร็งกระเพาะปัสสาวะกับบุหรี่ มีการเปิดเผยข้อมูลจากต่างประเทศและในประเทศจากหลายองค์กร เป็นเนื้อหาตรงกันพอสรุปได้ว่า มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หากได้ถามประวัติเรื่องการสูบบุหรี่ พบว่าส่วนมากจะมีประวัติสูบบุหรี่มาทั้งนั้น เข้าใจว่านอกจากสารนิโคติน แล้วยังมีสาร อริลามินส์ อยู่ในควันบุหรี่ เป็นตัวสาเหตุทำให้เกิดมะเร็ง



จากที่ได้พูดคุยกับศัลยแพทย์ ระบบทางเดินปัสสาวะ หลายท่านที่มีประสบการณ์ผ่าตัดรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะมานานปี ได้พบว่าส่วนใหญ่จะมีประวัติสูบบุหรี่มาทั้งนั้น จึงเชื่อว่าบุหรี่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดมะเร็งขึ้นได้


ทุกข์ของคนเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ใครที่มากเห็นคนเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดจะเห็นใจมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ระยะหลัง ๆ ต้องรับการผ่าตัดเอากระเพาะปัสสาวะออก แพทย์จะทำกระเพาะปัสสาวะเทียมให้ใหม่ ด้วยการเอาลำไส้มาแทน ปัสสาวะจะออกทางหน้าท้อง ต้องฝีส่วนปัสสาวะด้วยตนเอง หากแพทย์ต่อกับท่อปัสสาวะเดิม ซึ่งบางครั้งอาจถ่ายไม่ออก หรือไม่ออกเลย จะไปไหนมาไหนไม่คล่องสะดวกเหมือนก่อน หรือไม่ออกเลย จะไปไหนมาไหนไม่คล่องสะดวก เหมือนก่อน แพทย์ผ่าตัดก็เหนื่อยต้องใช้เวลาผ่าทั้งวัน ผ่าไปแล้วหากเกิดรั่วก็ต้องตามแก้ไขกันอีก กว่าผลจะเข้าที่เข้าทางกันดีต้องใช้เวลา คนไข้ต้องอดทนมาก ดูแล้วผู้ที่เคยสูบบุหรี่อยู่ประจำเชื่อว่าคงจะคิดเลิกสูบแน่



มะเร็งกระเพราะปัสสาวะรายที่เป็นมากก็ต้องถูกตัดกระเพาะปัสสาวะออก เอาลำไส้มาทำกระเพาะปัสสาวะแทน ปัสสาวะออกทางหน้าท้อง ทำให้ภาพลักษณ์เปลี่ยนไป สมรรถภาพทางเพศก็หมดไปด้วย ผลพบบ่อยมาจากการสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ถูกลมโป่งพอง หลอดเลือดหัวใจตีบ ฯลฯ และมะเร็งกระเพราะปัสสาวะ ผู้ที่สูบบุหรี่จึงควรตระหนักไว้ด้วย


ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2552