วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ไทยซิวรางวัลควบคุมบุหรี่ดีเยี่ยม ปี 2551ที่โรงแรมโฟซิเทล เซ็นทารา แกรนด์ เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา ในการประชุมของสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคติน และยาสูบภาคพื้นเอเชีย ครั้งที่ 1 นพ. ปราชญ์ บุณยวงศ์ วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก่าวตอนหนึ่งว่า ในปี 51องค์กรภาคีโลกไร้ควันบุหรี่ ซึ่งเป็นองค์กรก่อตั้งเพื่อดำเนินการตามนโยบายรณรงค์คุ้มครองสุขภาพ ของผู้ไม่สูบบุหรี่ ได้มอบรางวัล จี เอส พี ให้กับประเทศไทยในฐานะที่มีผลการดำเนินงานด้านการควบคุมยาสูบชัดเจน ในระดับดีเยี่ยมของโลก ทำให้ประชาชนที่ไม่สูบบุหรี่ได้รับความนิยมปลอดภัยจากควันพิษในบุหรี่ เป็นการสนับสนุนนโยบายขององค์การอนามัยโลกให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

ด้าน น.ส. บังอร ฤทธิภักดี ประธาน เครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบในภูมิภาคอาเชียน กล่าวว่า สถานการณ์การบริโภคยาสูบในกลุ่มอาเซียนพบว่า มีผู้สูบถึง 125 ล้านคนจากประชากร 575 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรที่สูบบุหรี่ทั่วโลก ที่ผ่านมาประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้ให้ความร่วมมือในการเดินหน้ามาตรการควบคุมยาสูบในประเทศ ซึ่ง 4 ใน 10 ของกลุ่มประเทศอาเซียนมีการดำเนินการออกคำเตือนที่เป็นรูปภาพ ซึ่งไทย และสิงคโปร์ดำเนินการแล้วส่วนบรูไนจะออกภาพคำเตือนในปีนี้ ขณะที่มาเลเซียจะจัดทำในปีหน้า นอกจากนี้ยังร่วมมือมาตรการห้ามโฆษณาบุหรี่หรือส่งเสริมการขาย โดย 8 ใน 10 ประเทศ ห้ามโฆษณาบุหรี่ ยกเว้นกัมพูชา และอินโดนีเซีย ที่ยังปล่อยให้มีการโฆษณาได้
บุหรี่แนวใหม่จับใส่กระป๋องพร้อมดื่ม

บริษัทแดงกังหันอวดอ้างพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรรสผลไม้ ที่ให้ความรู้สึกปลอดปล่อยผ่อนคลายแบบเดียวกับบุหรี่

กลุ่มเป้าหมายของ "ลิควิด สโมกกิ้ง" คือ สิงห์อมควันที่ไม่สามารถจุดบุหรี่ได้ในผับหรือสถานที่ สาธารณะ แต่อยากตอบสนองความปรารถนาของตัวเอง

ยูไนเต็ด ดริงส์ แอนด์ บิวตี้ คอร์เปอเรชัน แห่งเนเธอแลนด์ หวังว่าเครื่องดื่มน้องใหม่ จะเริ่มวางขายได้ก่อนถึงเทศกาลคริสต์มาสหนึ่งสัปดาห์ และหวังว่าจะนำเข้าไปขายในผัดในรูปแบบของมิกเซอร์ เช่นเดียวกับ เรดบูลล์

ยูไนเต็ด ดริงส์ยืนยันว่า ลิควิด สโมกกิ้ล ไม่มีนิโคติน แต่มีส่วนผสมของรากไม้ต่าง ๆ จากแอฟริกาที่คนป่าใช้กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14

คนป่าที่ว่าจะเคี้ยวใบของต้นไม้เหล่านั้นเพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายสบายใจ แต่สำหรับลิควิด สโมกิ้ง ผู้ผลิตได้นำรากไม้ไปกลั่นเป็นน้ำมัน ก่อนนำมาปรุงเป็นเป็นเครื่องดื่ม

เครื่องดื่มชนิดนี้ให้พลังงานต่ำกว่า 21 แคลอรี่ในกระป๋มขนาด 275 มิลิลิตร และราคาน่าจะอยูทที่ 1.50 ปลอนด์ (85 บาท) สำหรับร้านค้าทั่วไป และ 2 ปลน (114 บาท) ในผับ

ที่สำคัญ ยังไม่มีการจำกัดอายุผู้ซื้อ แม้ทางผู้ผลิตสำทับว่า ไม่ว่าคิดว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ควรดื่มก็ตาม

มาร์ติน ฮาร์ตแมน ปรธานบริหารยูไนเต็ด ดริงส์ กล่าวว่า ไม่มีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่า ลิควิด ดริงกิงส์ เป็นอันตรายไม่ว่าในทางใด และบริษัทกำลังรอการอนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุขฮอลแลนด์ เพื่อเริ่มวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์

"ผลิตภัณฑ์นี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีคุณสมบัติคล้ายนิโคติน เพราะเราต้องการนำเสนอทางออกสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ลูกค้าสามารถดื่มลิควิด สโมกกิ้งแทนการสูบบุหรี่"

"ลิควิด สโมกกิ้งเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย คล้าย ๆ เวลาสูบบุหรี่ แรก ๆ คุณจะรู้สึกตื่นตัวมากกว่าเคลิบเคลิ้ม แล้วจะรู้สึกว่าจิตใจสงบลง และทำให้หายอยากนิโคติน ได้ 1-4 ชั่วโมง"

อย่างไรก็ตาม กลุ่มต่อต้านการสูบบุหรี่ไม่ปลื้อมกับผลิตภัณฑ์นี้ แต่อย่างใด โดยเฉพาะการชูจุดขายว่าเป็นทางเลือกแทนบุหรี่ และการที่ผู้บริโภคถูกปิดหู ปิดตา ได้รับรู้เพียงส่วนผสมที่ผู้ผลิตยอมเปิดเผยออกมาเท่านั้น รวมถึงการอวดอ้างเรื่องสุขภาพ ที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซ้ำแพกเกจผลิตภัณฑ์ยังตั้งใจทำออกมาให้เหมือนซองบุหรี่ ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมการสูบบุหรี่ทางอ้อม

ปัจจุบัน มีความกังวลกันมากขึ้นเรื่องผลกระทบจากเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนในปริมาณมาก เช่น เรดบูลล์ ที่มีต่อวัยรุ่น และหนุ่มสาว เนื่องจาก หากร่างกายรับกาเฟอีนมากเกินไป อาจนำไปสู่ปัญหาการนอนไม่หลับ กังวล และอยู่ไม่นิ่ง ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกี่ยวกับประเด็กหลัง ฮาร์ตแมน ยืนยันว่า ลิควิด สโมกกิ้งมีฤทธิ์การปลดปล่อยมากกว่ามีฤทธิ์กระตุ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, ปริทรรศน์/360 องศาโลก วันที่ 29 ตุลาคม 2551





ทั่วโลกจับมือร่างกฎหมาย คุมบุหรี่เถื่อน ห้ามโฆษณาเว็บ - ไม่ขายปลอดภาษีในดิวตี้ฟรี

ผู้จัดการรายวัน - วานนี้ (29 ต.ค.) ที่โรงเรียนเซ็นทาราแกรนด์ ในการประชุมองสมาคมวิจัยการเสพติดนิโคติน และยาสูบภาคพื้นเอเชีย ครั้งที่ 1 ส.นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประชุมยกร่างพิธีสารป้องกันบุหรี่เถื่อน ตามอนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ มาตรา 15 ซึ่งมีสมาชิก 160 ประเทศ ทั่วโลก ได้ร่วมกันหารือในประเด็นการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อน ดังนี้

1. ห้ามขายบุหรี่ปลอดภาษี โดยเฉพาะในร้านสินค้าปลอดภาษีของสนามบินต่าง ๆ ให้ขายได้เฉพาะบุหรี่ที่จัดเก็บภาษีแล้วเท่านั้น เนื่องจากช่องทางนี้เป็นสาเหตุสำคัญในการมีบุหรี่เถื่อนเล็ดลอดออกมาจำหน่ายในประเทศ เป็นจำนวนมาก

2. ห้ามโฆษณาขายบุหรี่ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มาตรการโฆษณาบุหรี่ 100% จึงสามารถลดการสูบบุหรี่ได้เต็มที่

3. ห้ามขายบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ และ

4. ห้ามจำหน่ายบารากู่ หรือฮูกก้า ซึ่งยังต้องประชุมอีก 2-3 ครั้ง จึงจะได้ข้อสรุป เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีประเด็กเหล่านี้บรรจุในกฎหมายของประเทศสมาชิกอนุสัญญาฯ มาก่อน

ด้าน นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย (สสท.) และในฐานะประธานการประชุมฯ กล่าวว่า ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นนี้ เกิดภาวะตกงาน ประชาชนยากจนลง โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งผู้บริโภคยาสูบของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทำให้ประชาชนหันไปสูบบุหรี่มวนเอง คาดผู้สูบบุหรี่ในอีก 2 ปีข้างหน้า ผู้ที่สูบบุหรี่ทั้งหมด โดยเฉพาะในภาคอีสาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างมาก อีกทั้งทำให้ประชาชน มีศักยภาพในการซื้อน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจำหน่ายบุหรี่แบ่งขาย หรือบุหรี่ซอยเล็กที่บรรจุน้อยกว่า 20 มวน ตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงปัญหาของการลักลอบนำบุหรี่เถื่อนมาขาย มีมากขึ้น

"วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือ จะต้องจัดระเบียบระบบการจำหน่ายบุหรี่มวนเอง ให้มีการจัดเก็บภาษี เพราะปัจจุบันยาเส้นที่นำมาใช้ ไม่มีการเก็บภาษีจึงทำให้ราคาถูกมาก ซึ่งที่ผ่านมาสาธารณสุขได้หารือกับกรมสรรถสามิต กระทรวงคลัง ในการหามาตรการในการจัดเก็บภาษียาเส้น ซึ่งเป็นวัตถถุดิบในการที่ประชาชนจะมวนบุหรี่สูบเอง นอกจากนี้ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 ในการห้ามจำหน่ายบุหรี่ซองเล็ก และปราบบุหรี่เถื่อนอ่างจริงจัง มากขึ้นด้วย นพ.หทัย กล่าว


ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 30 ต.ค. 2551