วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Anti-Smoker funny Commercial ViRuS


Funny video about smokers :)


วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เมื่อ “เด็กผี” บุกอนุสาวรีย์

เช้าวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ที่อนุสาวรีย์ กับบรรยากาศแบบเปียก ๆ ที่วันนี้มีบรรยากาศที่แตกต่างจากวันอื่นๆ และทำให้คนที่ต้องใช้เส้นทางอนุสาวรีย์ในวันนั้น ต้องตกใจ นั่น คือ ใครจะเห็นเด็กผี ไม่ใช่ตนเดียว แต่เป็นเด็ก ผีกลุ่มใหญ่ คำถามก็คือ “ผีกลุ่มนี้มาทำอะไรในวันฝนตก” ดูจากภาพแล้วกัน...จะได้คำตอบ....




“เด็กผี” เหล่านี้มาบอกกับผู้คนว่า...ให้รู้เท่าทัน “เล่ห์กลของบริษัทบุหรี่” เพราะเขาไม่อยากให้คุณเป็นผีในอนาคต มาดูกันชัดๆ ดีกว่าสิ่งที่เขาอยากบอกคุณมีอะไรบ้าง



“บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส จ่ายเงินจำนวน 42,500 ดอลลาร์ ให้แก่ภาพยนตร์เรื่องซุปเปอร์แมนภาค 2 เพื่อให้มีบุหรี่มาร์ลโบโรปรากฏในเรื่อง” (จากการสำรวจข้อมูลเรื่องการโฆษณาบุหรี่ในภาพยนตร์)

“เราได้รับการมอบหมายจากลูกค้าให้ออกแบบซองบุหรี่ที่ดึงดูดเด็กๆ รูปแบบซองที่ออกต้องดึงดูดตาของวัยรุ่น แต่ต้องไม่ให้ตาของฝ่ายผู้บังคับใช้กฎหมายรู้” (ฟิลิป กาเบอร์แมน หัวหน้าครีเอทีฟของโรเบิร์ต ไบรอัน แอสโซซิเอท)
“หากจะให้บริษัทเราอยู่รอดและก้าวหน้าต่อไป เราจะต้องช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดที่เป็นเยาวชนมาเป็นของเราในระยะยาว ดังนั้นเราจะต้องออกบุหรี่ยี่ห้อใหม่ๆ ให้มีรูปลักษณ์เย้ายวนใจผู้สูบบุหรี่อายน้อยๆ...” (บริษัทบุหรี่ อาร์ เจ เรย์โนลด์)



“ต้องมีความรู้ให้มากที่สุดถึงแบบแผนและทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่น วัยรุ่นวันนี้คือ ผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าประจำของเราในวันหน้า...ในช่วงวัยรุ่นนี่เองที่ผู้ริสูบบุหรี่เลือกบุหรี่ยี่ห้อแรกมาลิ้มลอง” (นายเบนเนทท์ ลีโบว บริษัทฟิลลิป มอร์ริส)

“ควรนำเสนอว่าการสูบบุหรี่เป็นกระบวนการหนึ่งในการก้าวไปสู่โลกของผู้ใหญ่ ชิ้นงานโฆษณาควรจำลองมาจากชีวิตจริงของวัยรุ่นและเชื่อมโยงบุหรี่เข้ากับกัญชา ไวน์ เบียร์ เรื่องเพศ และอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่วัยรุ่นคิดว่าเป็นพฤติกรรมประเภทเดียวกัน” (บริษัทตัวแทนโฆษณาที่ชื่อเทคเบตส์)



ท้ายนี้ขอขอบคุณเหล่า “เด็กผี” ที่ร่วมกันทำกิจกรรมดีๆ เพื่อ “คนรุ่นใหม่” ในสังคมไทย “ไม่สูบบุหรี่” ตบมือดัง ๆ ให้กับ “ไอเดีย” สร้างสรรค์ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตราชวิถี กับการบอกกล่าวสังคมว่า “บุหรี่หลอกลวงเยาวชน”


เรื่อง ชูรุณี พิชญกุลมงคล เจ้าหน้าที่ฝ่ายศูนย์ข้อมูลมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ www.ashthailand.or.th



ขอนแก่น ครองแชมป์สูบบุหรี่มากที่สุด

เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผยมีผู้สูบบุหรี่ทั้งประเทศกว่า 9.5 ล้านคน พบ 1 ใน 3 เป็นชาวอีสาน ขณะที่คนขอนแก่นครองแชมป์ประเทศ สูบบุหรี่สูงสุดกว่า 3 แสนคน เฉลี่ยการสูบ 9 มวน/คน/วัน



ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2550 พบว่าทั้งประเทศมีอัตราผู้สูบบุหรี่มากถึง 9.5 ล้านคน โดยผู้ที่สูบบุหรี่ 1 ใน 3 หรือประมาณ 3.4 ล้านคนเป็นชาวอีสาน หรือร้อยละ 99 เป็นชาย จำนวนกว่า 3.3 ล้านคน และมีอัตราการสูบบุหรี่สูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศที่เท่ากับร้อยละ 36 รองลงมาคือผู้หญิงมีอัตราการสูบเพียงร้อยละ 1 หรือ 61,525 คน

นอกจากนี้ จากสถิติการวิจัยของธนาคารโลกพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะสูบต่อไปหากไม่เลิกสูบ ซึ่ง 1 ใน 4 ของผู้ที่สูบบุหรี่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยข้อมูลล่าสุดพบว่า คนภาคอีสานกว่า 8.5 แสนคนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะใน จ.ขอนแก่น ซึ่งมีผู้สูบบุหรี่มากถึง 301,091 คน โดยมีอัตราการสูบบุหรี่เฉลี่ย 9 มวน/คน/วัน และสูญเสียเงินจากการซื้อบุหรี่เฉลี่ย 9 แสนบาท/วัน ซึ่งถือเป็นสถิติที่มากที่สุดของประเทศไทย โดยประมาณการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ถึง 75,272 คน

"จากจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้คนอีสานมาตระหนักถึงการลด ละ เลิก บุหรี่กันให้มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นจากบุคลากร อาทิ แพทย์ พยาบาล เภสัช ซึ่งเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ เพราะบุคลากรเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือด้านสุขภาพ และสามารถส่งผลต่อการชักจูงให้ผู้สูบบุหรี่หันมาเลิกบุหรี่ได้มากที่สุด”

เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวต่อว่า โรงพยาบาลก็ถือเป็นตัวอย่างของการชี้นำพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมให้กับประชาชน และเป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหาสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน รวมทั้งในเรื่องปัญหาของบุหรี่กับสุขภาพด้วย ดังนั้นทางมูลนิธิฯ จึงได้เริ่มโครงการปลอดบุหรี่ โดยได้เลือกโรงพยาบาลเป็นสถานที่ต้นแบบ เพราะโรงพยาบาลมีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งไม่มีสถานที่ใดสามารถรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ได้ตลอดเท่ากับโรงพยาบาล อีกทั้งมีบุคลากรที่น่าเชื่อถือ

"ทั้งนี้ ทางมูลนิธิฯ ได้เลือกให้โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ต้นแบบนำร่องแห่งแรกในประเทศ โดยจัดให้มีการรณรงค์เกี่ยวกับโทษที่เกิดจากบุหรี่ อีกทั้งเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลให้ปลอดบุหรี่อย่างจริงจัง ขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็จะต้องจัดให้มีการบริการช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบด้วย ทั้งนี้คาดว่าในอนาคตโรงพยาบาลทุกแห่งจะเป็นสถานปลอดบุหรี่" ศ.นพ.ประกิต กล่าว


ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ